hoan nghênhฟุตบอล คู่ เมื่อ คืน-【Y39.xyz】 >>chữ
ฟุตบอล คู่ เมื่อ คืน-【Y39.xyz】
บา คา ร่า ufa19184349Mọi người đã xem
Giới thiệuSubmitted on Mon, 2020-07-20 14:11ศูนย์ทนายความเพื่อนสิทธิมนุษยชน TLHR จากกรณีเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 6...
ศูนย์ทนายความเพื่อนสิทธิมนุษยชน TLHR
จากกรณีเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 63 นายทิวากร วิถีตน ชายวัย 47 ปีชาวจังหวัดขอนแก่น ได้แสดงออกโดยการสวมใส่เสื้อ ‘เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว’ พร้อมโพสต์ภาพและอธิบายเหตุผลไว้ในเฟสบุ๊คของเขาว่า “หมดศรัทธา” ไม่ได้แปลว่า “ล้มเจ้า” “หมดศรัทธา” มันคือความรู้สึกที่อยู่ในใจ ที่มีต่ออะไรสักอย่าง ในทำนองเดียวกับ “หมดรัก”, “หมดเยื่อใย”, “หมดใจ”, “หมดความไว้ใจ”มันเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคน สามารถพูดและแสดงออกมาได้ ตราบใดที่คนที่พูดและแสดงออกไม่ได้ไปทำความเสียหายให้กับทรัพย์สิน ไม่ได้ไปทำร้ายร่างกายคนที่ยังศรัทธา และไม่ได้ทำผิดกฏหมายอย่างอื่น
ต่อมา ทิวากรได้ถูกเจ้าหน้าที่ กอ.รมน., เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น และคาดว่ามีเจ้าหน้าที่ไม่ทราบสังกัดจากส่วนกลาง เข้าติดตามถึงบ้าน โดยเจ้าหน้าที่ได้พยายามพูดโน้มน้าวให้เขาไม่ใส่เสื้อตัวนี้ อ้างว่าถ้าใส่แล้ว อาจทำให้คนในประเทศเกิดการกระทบกระทั่งกัน แล้วเกิดความวุ่นวาย ด้านทิวากรเองยืนยันว่าจะยังคงสวมใส่เสื้อดังกล่าวต่อไป
จนกระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 63 มีรายงานข่าวว่านายทิวากรได้ถูกควบคุมตัว และนำตัวส่งโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการทางจิต ตั้งแต่ในวันที่ 9 ก.ค. 63 โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างน้อย 6 นาย เป็นผู้ควบคุมตัว อีกทั้งระหว่างที่ถูกควบคุมตัวในโรงพยาบาลยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสภ.เมืองขอนแก่น คอยเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง มีการตรวจบัตรประชาชนผู้เข้าเยี่ยม และคอยสังเกตการณ์ตลอดเวลาขณะที่ญาติเข้าเยี่ยมทิวากร
อ่านแถลงการณ์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้ตรวจสอบและยุติการควบคุมตัวทิวากร กรณีสวมเสื้อเราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว
หลักเกณฑ์และการวินิจฉัย “บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต” ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลเบื้องต้น ทิวากรไม่น่าเข้าข่าย
ประเด็นแรกที่ต้องพิจารณา คือเรื่องหลักเกณฑ์ในการระบุว่า “บุคคลใดอาจมีอาการผิดปกติทางจิต” และบุคคลนั้นต้องเข้ารับการตรวจสอบ วินิจฉัย หรือบำบัดรักษา ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบที่ออกโดยคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ 12 ฉบับ และประกาศคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ 5 ฉบับ ยังไม่พบหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายที่ชัดเจนนักในการระบุว่าบุคคลใดบ้างอาจมีอาการผิดปกติทางจิต เพียงแต่ระบุเรื่องการอาจมีภาวะอันตราย และมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
ดังนั้นเมื่อพิจารณาเพียงตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียว จึงยังเป็นการกำหนดเพียงบทบัญญัติกว้างๆ ประชาชนทั่วไปหรือกระทั่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์เฉพาะด้าน ไม่สามารถจำแนกออกมาได้ ต้องอาศัยการวินิจฉัยที่กระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ผ่านกระบวนการรวบรวมข้อมูล แบบประเมิน และการทดสอบทางการแพทย์อย่างละเอียด จนมีผลสรุปออกมาชี้ชัดว่าบุคคลนั้นเป็น “ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิต” หรือไม่ ซึ่งในท้ายที่สุดแพทย์อาจมีความเห็นสรุปออกมาว่าบุคคลที่ถูกนำตัวไปตรวจสอบเหล่านั้น ไม่มีความผิดปกติทางจิตใจ เป็นเพียงคนปกติธรรมดาก็ได้
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ปรากฎจากข่าวสารและพฤติการณ์เท่าที่สังคมรับรู้เกี่ยวกับ “ทิวากร” สิ่งที่เขาได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนจนถึงปัจจุบัน อาทิ การใส่เสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”, การประกาศจุดยืนและอธิบายเหตุผลที่ตัวเองกระทำ, การแชร์ข่าวสาร, โพสต์แสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์
หากพิจารณาการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ของทิวากร ก็เป็นไปอย่างมีลำดับความคิดและเป็นเหตุเป็นผล สื่อสารพูดคุยอย่างมีสติสัมปชัญญะไม่ได้ลอยอยู่เหนือสามัญสำนึก หรือหลุดกรอบของตรรกะจนไม่สามารถเข้าใจได้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าทิวากรมีภาวะการแสดงออกซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ทำให้จากข้อมูลเหล่านี้ ในสายตาของคนทั่วไปแล้ว ทิวากรไม่น่าจะมีส่วนใดที่เข้าข่าย “บุคคลที่น่าเชื่อว่าจะมีความผิดปกติทางจิต” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จนถึงกับต้องนำไปวินิจฉัยและบำบัดรักษา
อีกทั้ง จนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการตั้งข้อกล่าวหาทิวากรในฐานความผิดใดๆ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าการควบคุมตัวเขาเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
อำนาจหน้าที่ และข้อสังเกตใหญ่ 3 ประการต่อช่องว่างของ พ.ร.บ.สุขภาพจิต
อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อได้ว่ามีความผิดปกติทางจิต และจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย เพื่อบำบัดรักษาแล้ว กฎหมายให้อำนาจและหน้าที่แก่เจ้าพนักงานของรัฐในการปฎิบัติต่อกรณีดังกล่าว คือ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประการแรก ตามหลักการแล้วการรักษาบำบัดรักษา “ผู้ป่วย” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ “ผู้ป่วย” ได้รับการอธิบายเหตุผลความจำเป็นในการบำบัดรักษา รายละเอียด และประโยชน์ของการบำบัดรักษา และได้รับความยินยอมจาก “ผู้ป่วย” เท่านั้น และความยินยอมดังกล่าวจะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ป่วยเป็นสำคัญ (มาตรา 21) กระบวนการบำบัดรักษาโดยแพทย์ จิตแพทย์ พยาบาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจึงจะสามารถทำการรักษาได้
แต่หลักการดังกล่าว ได้ถูกยกเว้นไว้ 2 กรณีด้วยกันคือ
1. กรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา ให้คู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ให้ความยินยอมแทน
2. เป็นผู้ป่วยตามมาตรา 22 ที่กำหนดไว้ว่า
“บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา
(1) มีภาวะอันตรายหมายความว่า พฤติกรรมที่บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตแสดงออกโดย
ประการที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น
(2)มีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา หมายความว่า สภาวะของผู้ป่วยซึ่งขาดความสามารถ
ในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษาและต้องได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกัน
หรือบรรเทามิให้ความผิดปกติทางจิตทวีความรุนแรงหรือเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือบุคคลอื่น”
ข้อน่าสังเกต คือข้อยกเว้นการรักษาที่ต้องได้รับความยินยอมจากตัว “ผู้ป่วย” เองเป็นหลักนั้น เป็นกฎหมายที่ควรออกมาบังคับอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ถ้อยคำที่ใช้เพื่อยกเว้นความยินยอมนั้นเปิดให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการตีความได้กว้างขวาง เช่น ถ้อยคำว่า“ขาดความสามารถในการตัดสินใจให้ความยินยอมรับการบำบัดรักษา” เป็นต้น
ถ้อยคำเปิดกว้างและช่องว่างการตีความเช่นนี้ เป็นปัญหาที่ประชาชนไม่อาจรู้ได้ว่าการตีความของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ มีกรอบกำหนดไว้เพียงใด จากการสืบค้นระเบียบและประกาศของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติที่เผยแพร่ในเว็บไซต์โรงพยาบาลสวนปรุง ก็ไม่ได้ระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจนที่ประชาชนจะสามารถทำความเข้าใจได้ อำนาจดุลพินิจดังกล่าวอาจกลายเป็นช่องว่าง ให้เกิดกระบวนการบังคับบุคคลให้เป็น “ผู้ป่วย” หรือกลายเป็นเครื่องมือนำตัวบุคคลไปควบคุมเพื่อตรวจวินิจฉัย โดยที่บุคคลนั้นอาจไม่ได้เป็น “บุคคลที่มีความผิดปกติ” แต่อย่างใด
ประการที่สอง ในส่วน “พนักงานเจ้าหน้าที่”ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 โดยสรุปหมายถึง ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการแพทย์ พยาบาล สังคมสงเคราะห์ จิตวิทยา กิจกรรมบำบัด การสาธารณสุขหรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางการพยาบาลหรือการสาธารณสุข และเป็นผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของรัฐ และมีประสบการณ์ในการทำงานด้านสาธารณสุข อย่างน้อย 1 ปี ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดและรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว มีอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 ได้แก่
1. เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ ในระหว่างเวลากลางวันเพื่อนำบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่ามีลักษณะตามมาตรา 22 ไปรับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในเคหสถานหรือสถานที่นั้น ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไปหรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินเนื่องจากบุคคลนั้นมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึง
2. ซักถามบุคคลใดๆ เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ความเจ็บป่วย พฤติกรรมและความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชน
3. มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดๆ มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อสังเกตคือโดยปกติพนักงานเจ้าหน้าที่จะเข้าไปยังเคหสถานใดๆ จะต้องมีหมายค้นจากศาล จึงจะสามารถกระทำการดังกล่าวได้ แต่ในมาตรา 46 ของ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เป็นการให้อำนาจพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายนี้ นั่นคือการจะเข้าควบคุมตัวบุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อันน่าเชื่อว่ามีลักษณะตามมาตรา 22 โดยต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วนด้วยกัน จึงจะสามารถใช้อำนาจนี้ได้ คือ 1. มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลดังกล่าวอยู่ในเคหสถานหรือสถานที่นั้น 2. มีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไปหรือกรณีมีเหตุฉุกเฉินเนื่องจากบุคคลนั้นมีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึงโดยในวรรคสองของมาตราดังกล่าวได้ระบุว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต อาจร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจให้ความช่วยเหลือได้
ประการที่สามใน พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ยังได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการควบคุมตัวของบุคคล เพื่อตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการป่วย ไว้ 2 ส่วนด้วยกัน
1. ต้องมีแพทย์อย่างน้อย 1 คน และ พยาบาลอย่างน้อย 1 คน ทำการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลที่ถูกส่งตัวภายในเวลา 48 ชั่วโมง นับตั้งแต่บุคคลนั้นเดินทางไปถึงสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ตามมาตรา 27
2. เมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจเบื้องต้นแล้ว พบว่ามีลักษณะตามมาตรา 22 ให้คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการบุคคลนั้นโดยละเอียด ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับตัวบุคคลนั้นไว้
หลังจากผ่านการวินิจฉัยโดยละเอียดโดยคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา คณะกรรมการฯ จะมีคำวินิจฉัยประการใดออกมาอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเป็นไปได้ 2 แนวทางด้วยกันคือ มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
1. ให้บุคคลนั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบำบัดรักษา
2. ให้บุคคลนั้นต้องรับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานบำบัดรักษา เมื่อบุคคลนั้นไม่มีภาวะอันตราย ทั้งนี้ จะกำหนดเงื่อนไขใดๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับการบำบัดรักษาให้บุคคลนั้นหรือผู้รับดูแลบุคคลนั้นต้องปฏิบัติด้วยก็ได้
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการออกคำสั่งดังกล่าว พ.ร.บ.สุขภาพจิตได้กำหนดให้มีกลไกการตรวจสอบโดยกำหนดไว้ในมาตรา 42 ที่ระบุให้สิทธิผู้ป่วยหรือคู่สมรส ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้ป่วย ทำการอุทธรณ์คำสั่งที่คณะกรรมการสถานบำบัดรักษาออกมา โดยต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว
ข้อสังเกตคือก่อนที่จะถึงขั้นตอนการออกคำสั่งมาและให้บุคคลอื่นเข้ามาตรวจสอบและอุทธรณ์คำสั่ง ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต กฎหมายฉบับดังกล่าวได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการควบคุมตัวบุคคล อย่างน้อย 48 ชั่วโมง บวกกับ 30 วันแล้ว โดยกระบวนการอุทธรณ์นั้นจะเริ่มได้ภายหลังจากการวินิจฉัยของแพทย์ เท่ากับว่าภายในระยะเวลาประมาณ 32 วันนั้น บุคคลที่มีอำนาจตัดสินใจคือบุคคลากรทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว ไม่มีกลไกใดเข้ามาตรวจสอบก่อนระยะเวลาดังกล่าว
ในกรณีของทิวากรนั้น หากนับตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 63 ที่เขาถูกควบคุมตัวไปยังโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ นับได้ว่าเกินเวลา 48 ชั่วโมงที่จะมีการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นไปแล้ว ล่วงเข้าสู่ระยะเวลา 30 วัน ที่จะต้องมีการออกคำวินิจฉัยและคำสั่งของคณะกรรมการสถานบำบัดรักษา
มองปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต จากข้อเท็จจริงกรณีทิวากร
หากพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีตัวอย่างของทิวากร ผ่านข้อมูลและข่าวสารที่ปรากฏในสื่อสาธารณะและจากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ในกรณีที่อ้างว่าการควบคุมตัวทิวากรที่เกิดขึ้นเป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว พบว่า
ข้อเท็จจริงประการแรกนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการควบคุมตัวทิวากร เขาได้ทำการปฏิเสธไม่ยอมรับการจับกุม แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่จำนวน 6 คน เข้าไปอุ้มตัวถึงบ้านของตนเอง
ปัญหาที่พบคือ การปฏิเสธของทิวากรเช่นนี้เป็นการแสดงเจตนาที่ไม่ยินยอม ในกระบวนการเกี่ยวกับบำบัดรักษา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญก่อนที่กระบวนการบำบัดรักษาจะเริ่มขึ้นได้ คำถามจึงเกิดขึ้นว่ากระบวนการที่เริ่มขึ้นได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแล้วหรือไม่ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2551 หรือไม่
ข้อเท็จจริงประการที่สองในรายงานข่าวยังปรากฏว่า ระหว่างการควบคุมตัวทิวากร เจ้าหน้าที่ได้มีการใช้ผ้ามัดมือเขาเอาไว้ด้วย
ปัญหาที่พบคือโดยหลักการแล้ว ในการควบคุมตัวบุคคลไปยังสถานบำบัดนั้น พ.ร.บ.สุขภาพจิต ระบุชัดเจนว่าการผูกมัดร่างกายไม่สามารถกระทำได้ เว้นแต่เป็นความจำเป็นเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อบุคคล นั้นเอง บุคคลอื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่น(มาตรา 24 วรรคสอง) ซึ่งตามรายงานข่าวทิวากรเพียงแต่ปฏิเสธการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ไม่มีพฤติการณ์อื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเขาหรือคนอื่นๆ แต่อย่างใด การผูกมัดทิวากรของเจ้าหน้าที่จึงกระทำไปนอกเหนือจากที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน
ข้อเท็จจริงประการที่สาม กรณีที่ทิวากรอาจถูกมองว่าเป็น“บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้เป็นบุคคลที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา”ตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.สุขภาพจิตนั้น ก็ได้ปรากฎข้อเท็จจริงน่าสงสัยที่ว่าทิวากรเคยโพสต์ในเฟสบุ๊คเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 63 เวลา 15.46 น. แจ้งว่าได้มีเจ้าหน้าที่จิตแพทย์ 6 คน จากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น และเจ้าหน้าที่กอ.รมน. เดินทางมาพบและพูดคุยเพื่อประเมินสุขภาพจิตของเขาที่บ้าน ใช้เวลาในการซักถามราว 30 นาที จึงได้เดินทางกลับไป โดยไม่มีการควบคุมตัวเขาไปยังโรงพยาบาลแต่อย่างใด ตอนหนึ่งในการพูดคุยทิวากรได้บอกกับจิตแพทย์ว่า “ผมเข้าใจดีว่านี่คือการเมือง ที่ต้องการจะทำให้คนเข้าใจว่าผมเป็นบ้า ผมจะไม่ตำหนิเจ้าหน้าที่ถ้าหากมีคำวินิจฉัยว่าผมเป็นบ้า เพราะถือว่าต้องทำตามคำสั่ง” จนกระทั่งปรากฏในภายหลังว่าเขาได้ถูกควบคุมตัวส่งไปยังโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ในวันเดียวกันนั้น
ปัญหาที่พบคือ เหตุใดทางเจ้าหน้าที่จึงไม่ทำการควบคุมตัวเขาตั้งแต่ต้นที่ได้มีการพูดคุยและประเมินอาการของเขาแล้วเสร็จ เพราะหากดูพฤติการณ์การควบคุมตัวที่ปรากฎตามข่าวสารแล้วจะเห็นว่าเป็นลักษณะการอ้างอิงจากมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.สุขภาพจิต ที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ไม่อาจปล่อยให้ช้าออกไป จึงต้องบังคับควบคุมตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งทันที แม้จะไม่ได้รับการยินยอมก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงกลับปรากฎว่าหลังเจ้าหน้าที่มีการพูดคุยประเมินกับทิวากรแล้ว ได้เดินทางกลับไปก่อนที่จะกลับมาควบคุมตัวอีกครั้ง ทำให้มีความขัดแย้งกันอยู่ว่าสรุปแล้ว การควบคุมตัวทิวากรนั้นเกิดขึ้นด้วยเหตุเพราะเขามีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างชัดเจนจริงหรือไม่
ข้อเท็จจริงประการที่สี่ จะพบว่านับตั้งแต่เขาได้ทำการสวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” เขายังคงอาศัยอยู่ภายในบ้านของตนเองอย่างเปิดเผยและดำเนินชีวิตประจำวันไปตามปกติ แม้เจ้าหน้าที่รัฐหลายฝ่ายเข้าไปติดตามพูดคุยและห้ามปรามการกระทำของทิวากรถึงที่บ้าน เขาก็ไม่ได้มีพฤติการณ์ที่จะเตรียมหลบหนี หรือมีเหตุให้เชื่อว่าเขามีภาวะอันตรายและเป็นอันตรายที่ใกล้จะถึงแต่อย่างใด
ปัญหาที่พบคือการปฎิบัติการจับกุมควบคุมตัวทิวากรของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกิดขึ้น เป็นการใช้อำนาจพิเศษ ลัดขั้นตอนการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนการ โดยอ้างเหตุที่ไม่มีอยู่จริง เพื่อต้องการควบคุมตัวทิวากรอย่างทันทีเท่านั้นหรือไม่
ข้อเท็จจริงประการที่ห้าหลังถูกส่งตัวเข้าตรวจอาการทางจิตที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์แล้ว ยังได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.ขอนแก่นคอยเฝ้าทิวากรตลอด 24 ชั่วโมง และคอยตรวจบัตรประชาชนของผู้เข้าเยี่ยมตลอด
ปัญหาที่พบคือ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต ไม่ได้ให้อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานหรือผู้ที่เจ้าพนักงานขอความช่วยเหลือจะสามารถกระทำการดังกล่าวได้ เมื่อ “ผู้ป่วย” ถึงสถานที่ตรวจรักษาแล้ว ความรับผิดชอบและหน้าที่จะถูกส่งต่อไปยังแพทย์ พยาบาลและพนักงานผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย ปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยเฝ้าทิวากรตลอด 24 ชั่วโมง และคอยตรวจบัตรประชาชนของผู้เข้าเยี่ยม คล้ายการสอดส่องควบคุมมากกว่า จึงไม่อาจพูดได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยปกติของเจ้าหน้าที่ หรืออาจถึงขั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อเท็จจริงประการที่หก ภายหลังจากที่รถพยาบาลได้นำตัวทิวากรไปจากบ้าน ชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าทำการตรวจค้นและยึดเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนของทิวากรไป โดยก่อนที่จะนำทรัพย์สินไป ได้นำมาถ่ายภาพ และเอาเอกสารไม่ทราบรายละเอียดข้อความมาให้มารดาของทิวากรลงลายมือชื่อนั้น
ปัญหาที่พบคือการปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการนำตัวทิวากรไปตรวจสอบอาการป่วยตามข้อกล่าวอ้าง ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ในการตรวจค้นหรือยึดสิ่งของหรือทรัพย์สินของผู้ที่ถูกสงสัยว่ามีอาการป่วยแต่อย่างใด เพราะอาการป่วยเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งของหรือทรัพย์สิน การตรวจค้นและยึดทรัพย์สินของทิวากรของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว อาจถึงขั้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเช่นกัน
สิทธิที่ถูกพรากไป เพียงข้อกล่าวอ้างว่าอาจเป็น “ผู้ป่วย” ทั้งที่แพทย์ยังไม่ได้ยืนยัน
ข้อสังเกตอื่นๆ ที่เกิดขึ้น เกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีของทิวากร คือเขาเป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ 20 ปี บริบูรณ์แล้ว สามารถกระทำการตัดสินใจเองได้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออก, แสดงความคิดเห็น หรือทำนิติกรรมที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยที่การกระทำของเขาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาหรือมารดาแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ได้อยู่ในสภาวะของซึ่งขาดความสามารถในการตัดสินใจแต่อย่างใด
ข้อเท็จจริงตามรายงานข่าวที่ปรากฏว่า“ได้มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่และจิตแพทย์ ได้มาตามตัวผู้เป็นมารดาไปถามความเห็นและขอความยินยอมในการควบคุมตัวไปรักษา”นั้น วิธีการดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามที่จะหาหลักพึ่งพิงของเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้มีการฟ้องดำเนินคดีตามมาในภายหลัง โดยอ้างว่าการปฏิบัติที่เกิดขึ้นได้รับความยินยอมจากมารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองของทิวากรแล้ว ทั้งยังเป็นการตีตราว่าทิวากรเป็น “ผู้ป่วย” ไปก่อนการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วยซ้ำไป
ช่องว่างของ พ.ร.บ.สุขภาพจิต และการใช้ “กฎหมาย” เป็นเครื่องมือในการปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก
โดยหลักการแล้ว พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 ควรเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำหรับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีและวิธีการรับมือกับผู้มีอาการทางจิต ให้ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งยังช่วยคุ้มครองความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยและสังคม จนกระทั่งบุคคลเหล่านั้นได้รับการฟื้นฟูและกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติ
แต่เมื่อลักษณะการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยได้ถูกบิดเบือนหลักการ ใช้อย่างเลือกปฎิบัติ และมีเป้าประสงค์ทางการเมือง มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ก็อาจทำให้ พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 กลายไปเป็นเครื่องมือใหม่ในการตีตราผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองซึ่งไม่ได้เป็นความผิดต่อกฎหมายใด ว่าเป็น “ผู้ป่วย” “ผู้มีอาการทางจิต” หรือ “คนบ้า” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งรัฐไทยพยายามปิดกั้นควบคุมการมีความคิดเห็นที่แตกต่างเอาไว้อย่างเข้มข้น และทำให้ความแตกต่างทางความคิดกลายเป็น “เรื่องผิดปกติ” ไป ทั้งข้อกล่าวหาว่าด้วย “ความป่วยไข้” และ “ผิดปกติทางจิต” นี้ ยังเปิดทางให้กับการพรากสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไปอย่างง่ายดายอีกด้วย
ที่มา:ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน www.tlhr2014.com/?p=19452
Tags:
tái sản xuất:Bạn bè được hoan nghênh chia sẻ trên Internet, nhưng vui lòng ghi rõ nguồn bài viết khi in lại“บา คา ร่า ufa191”。http://www.fsonline.com.cn/sjbvn/z5h8k/cut2.htm
Những bài viết liên quan
กวีประชาไท: แด่หมุด...ทำลายหมด มิลดลืม
ฟุตบอล คู่ เมื่อ คืน-【Y39.xyz】Submitted on Mon, 2017-04-17 15:00พงศ์ นัทธีหกศูนย์ สิบสี่เมษา คราอุบาทว์ขี้เขลาขลาด อำนาจเถื่อน มิผ...
đọc thêm
ปรัชญาไม่ทำปรัชญา
ฟุตบอล คู่ เมื่อ คืน-【Y39.xyz】Submitted on Thu, 2017-03-23 15:18ยุทธศิลป์ อร่ามศรี เดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมเสนอในงานประชุมวิชาการค...
đọc thêm
ทำไมต้องผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ฟุตบอล คู่ เมื่อ คืน-【Y39.xyz】Submitted on Thu, 2009-09-17 14:00 สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแ...
đọc thêm
บทความยอดนิยม
โพสต์ใหม่
จดหมายเปิดผนึกถึงสภา มธ. ขอให้ตรวจสอบและยุติสนับสนุนเผด็จการของ 'สมคิด'
วิเคราะห์: แผนการทหารพม่าเป็น ส.ส. โดยไม่ต้องลงแข่งเลือกตั้งปีหน้า
คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ ไม่ต้องรอพระราชบัญญัติ
ถึงเวลาแล้วที่ DKBA และ KNU ต้องหันมาสามัคคี
Boun Om Touk พิธีไล่น้ำ/ไล่เรือ ของกรุงศรีอยุธยา/รัตนโกสินทร์ มาจากกรุงกัมพูชา
แม่น้ำท่าจีน: แก้สิ่งแวดล้อมเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์